6 สาเหตุที่ทำให้เป็นคนขี้ลืม

         ไม่มีใครไม่อยากเป็นคนขี้ลืม จริงไหม? เพราะเมื่อไรที่เราเริ่มลืมอะไรบางอย่างบ่อยๆ เข้า ก็เริ่มเป็นสัญญาณว่าเรา “อายุมากขึ้น” แล้ว ยิ่งถ้าเรายังอยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน หากหลงๆ ลืมๆ บ่อยๆ คงทำให้เกรดตก ทำงานได้ไม่ดีอย่างที่ใจคิดแน่ๆ ซึ่งวันนี้จะพาสาวๆ ไปดูหลากสาเหตุที่ทำให้เป็นคน     ขี้ลืม แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1.อายุมากขึ้น

         เมื่ออายุมากขึ้น สมองก็อาจแสดงสัญญาณให้รู้ว่ามันกำลังเสื่อมสภาพ เช่นเดียวกับริ้วรอยที่เริ่มปรากฏบนผิว หรือข้อต่อที่เริ่มส่งเสียง โรคอัลไซเมอร์มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหลังอายุ 65 ปี แต่อาการขี้ลืมระดับเบาๆ จะเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ดังนั้นไม่ต้องตกใจถ้าพบว่าตัวเองต้องใช้ความพยายามในการเรียนรู้สิ่งใหม่มากขึ้น หรือต้องใช้เวลาคิดคำในการพูดแต่ละครั้ง ทั้งนี้การออกกำลังกาย การทานอาหารที่ดีต่อสมอง และหมั่นเข้าสังคมก็อาจช่วยให้คุณมีสมองที่เฉียบแหลมนานขึ้น

2. นอนไม่พอ

         สังเกตตัวเองได้ง่ายๆ เลยว่า หากวันนั้นเบลอๆ มึนๆ งงๆ สมองทำงานช้า คิดอะไรไม่ทัน ตัดสินใจได้ช้าลง ก็ลองถามตัวเองดูว่าเมื่อคืนนอนกี่ชั่วโมง หรือช่วงนี้ได้นอนคืนหนึ่งต่ำกว่า 5-6 ชั่วโมงหรือไม่ นอกจากการพักผ่อนน้อยจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราขี้ลืมได้แล้ว ยังทำให้เรามีอารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวได้ง่าย และยังเสี่ยงมีอาการวิตกกังวล ที่สามารถนำไปสู่ภาวะหลงลืมได้อีกด้วย

3. ดื่มแอลกอฮอล์มากไป

         อย่างที่เราทราบดีว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความคิดยุ่งเหยิงขณะที่กำลังดื่ม แต่การดื่มเหล้าอย่างหนักสามารถทำให้ผู้ดื่มมีอาการหลงลืมหลังสร่างเมาแล้วเช่นกัน นอกจากนี้บางคนที่ดื่มแอลกอฮอล์มาทั้งชีวิตอาจสูญเสียความฉลาดหลักแหลมไปเลย แต่คนส่วนมากสามารถคาดหวังได้ว่า อาการขี้ลืมจะกลับมาดีขึ้น โดยอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์จนถึงขั้นนานเป็นเดือน

4. ความเครียด วิตกกังวล

         หากคุณสังเกตว่าช่วงนี้สมองคุณมีเรื่องให้ต้องคิดอย่างหนักตลอดเวลา อาจทำให้คุณละเลยข้อมูลอื่นๆ ใหม่ๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นมาได้ เพราะว่าคุณจะไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่นๆ นั่นเอง

5. ภาวะซึมเศร้า

         อาการบ่งบอกถึงภาวะซึมเศร้าที่สังเกตได้ง่าย คือไม่ร่าเริงสดใส หน้านิ่งไม่ไหวติง ไม่มีแรงบันดาลใจที่อยากจะทำอะไร และมีความสุขน้อยลงกับกิจกรรม หรือบางสิ่งบางอย่างที่เคยมอบความสุขให้มาก่อน นั่นจึงรวมไปถึงการทำงานของสมองที่เลือกที่จะไม่จดจำอะไรเป็นพิเศษไปด้วย

6. การรักษาโรคบางชนิด

         หากคุณกำลังรักษาโรคประจำตัวบางอย่างที่ต้องกินยาระงับประสาท ยาแก้ซึมเศร้า ยาควบคุมความดันโลหิตบางชนิด และการรักษาโรคบางที อาจมีผลต่อการทางด้านความจำของสมอง อาจทำให้ผู้ที่ได้รับยาเหล่านี้มีสมาธิที่จะจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ยากมากยิ่งขึ้น หากคิดว่ายาที่กินอยู่มีผลกระทบต่อการจำ ลองปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อลองหาสาเหตุที่แท้จริง หรือพิจารณายาตัวใหม่แทน

Comments

คอมเม้นกันหน่อย